ชิ้นที่3โครงงานทางประวัติศาสตร์
โครงงานประวัติศาสตร์ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ตามรอยเท้าบรรพชน คนชุมพลบุรี จัดทำเพื่อส่งเสริมให้มีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความรู้และความรู้รักสามัคคีของคนภายในท้องถิ่น โดยวิธีการศึกษาได้นำเอากระบวนการแสวงหาความรู้ทางประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นวิธีที่นักประวัติศาสตร์ใช้อยู่มาเพื่อแสวงหาคำตอบในสิ่งที่ตนเกิดความสงสัย โดยตั้งเป้าหมายของการศึกษา เพื่อศึกษาประวัติการตั้งถิ่นฐานของคนชุมพลบุรี และเพื่อศึกษาเส้นทาง การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานใน 9 ตำบล 95 หมู่บ้านของอำเภอชุมพลบุรี
วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
1. เพื่อศึกษาการก่อตั้งชุมชนของอำเภอชุมพลบุรี
2. เพื่อศึกษาเส้นทางการอพยพเข้ามาเพื่อก่อตั้งหมู่บ้านของคนในอำเภอชุมพลบุรี
ขอบเขตของการสำรวจ
1. เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอชุมพลบุรี 9 ตำบล 95 หมู่บ้าน จาก 122 หมู่บ้านของอำเภอชุมพลบุรี
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
1. สมุดบันทึก
2. ปากกา
3. กล้องบันทึกภาพ
4. แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน
5. คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
พื้นที่สำรวจ 9 ตำบล 95 หมู่บ้าน 1. ชุมพลบุรี (Chumphon Buri) 22 หมู่บ้าน
2. นาหนองไผ่(Na Nong Phai) 7 หมู่บ้าน
3. ไพรขลา (Phrai Khla) 8 หมู่บ้าน
4. ศรีณรงค์ (Si Narong) 12 หมู่บ้าน
5. ยะวึก (Yawuek) 11 หมู่บ้าน
6. เมืองบัว (Mueang Bua) 16 หมู่บ้าน
7. สระขุด (Sa Khut) 11 หมู่บ้าน
8. กระเบื้อง (Krabueang) 7 หมู่บ้าน
9. หนองเรือ (Nong Ruea) 1 หมู่บ้าน
การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อคณะสำรวจศึกษาเอกสาร และลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล ภาพถ่าย แบบสัมภาษณ์มาแล้ว ได้นำข้อมูลเหล่านี้มาจัดกระทำดังนี้
1. วิเคราะห์ชนิดและประเภทของหลักฐาน
2. วิเคราะห์ประเภทและแหล่งที่มาของข้อมูล
3. วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของหลักฐานและข้อมูล
อภิปรายผลจากการทำโครงงาน
1. ลักษณะการตั้งชุมชน
ผลจากการสำรวจสามารถวิเคราะห์การตั้งชุมชนของอำเภอชุมพลบุรี ได้ว่า การตั้งชุมชนเป็นไปใน 2 ลักษณะ คือ
1. การย้ายลงจากเนินดินเดิมหรือชุมชนโบราณเดิมเพื่อตั้งชุมชนใหม่ เนื่องจากเนินดินเดิมแออัด และบางชุมชนย้ายเพราะความกลัวผีสาง นางไม้
2. การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนจากอำเภอใกล้เคียงที่อยู่โดยรอบ เช่นอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอพุทไธสง อำเภอวาปีปทุม อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอท่าตูม อำเภอเมืองสุรินทร์ซึ่งมีสาเหตุของการอพยพ คือ การแสวงหาที่ทำกินใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม
การตั้งชุมชนในเขตอำเภอชุมพลบุรี สามารถแบ่งระยะของการตั้งชุมชน ได้เป็น 2 ระยะ คือ
1.1 ระยะที่ 1 การตั้งชุมชนในสมัยโบราณ
ลักษณะการตั้งชุมชนสมัยโบราณของอำเภอชุมพลบุรี ที่มีอายุสมัยตั้งแต่ 4,000 -1,500 ปี จากการสำรวจ พบว่าชุมชนเหล่านี้ตั้งอยู่บนเนินดินสูงมาก่อน ต่อมาได้กลายเป็นชุมชนร้าง ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ เนื่องจากบางแห่งเกิดจากความเชื่อเรื่องผีสาง นางไม้ บางแห่งเกิดภัยธรรมชาติ ฟ้าผ่าบ่อยๆ เช่นชุมชนวังฟ้าผ่า บางแห่งเกิดจากโรคระบาด ทำให้ผู้คนอพยพหนีออกไป บางหมู่บ้านคนอพยพหนีสัตว์ร้าย เช่นที่บ้านไพรขลา หรืออาจเกิดจากพื้นที่ไม่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเอือด(ดินเกลือ) ทำไร่นาและปลูกพืชผลไม่ได้ และเริ่มมีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งหมู่บ้านใหม่ เมื่อประมาณ 200 – 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง ส่วนช่วงเวลาที่หายไป คือช่วงที่เป็นชุมชนร้าง มีเพียงบางชุมชนเท่านั้นที่มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอด โดยไม่กลายสภาพเป็นชุมชนร้าง เช่น ชุมชนเมืองบัว ชุมชนยะวึก ชุมชนหัวนาคำ ชุมชนสำโรง ชุมชนทัพค่าย ชุมชนตึกชุม ซึ่งชุมชนเหล่านี้ต่อมามีพัฒนาการการย้ายลงจากเนินดินเดิมเพื่อตั้งชุมชนสมัยใหม่ขึ้นมา
1.2 ระยะที่ 2 การตั้งหมู่บ้านสมัยใหม่
จากการสำรวจพบว่าหมู่บ้านสมัยใหม่ตั้งอยู่บนเนินดินเดิมเป็นส่วนใหญ่ เช่นชุมชนไพรขลา ชุมชนโนนสวรรค์พัฒนา ชุมชนกระเบื้องใหญ่ ชุมชนสายสนอง มีเพียงบางชุมชนที่ไปตั้งชุมชนบนที่ราบแห่งใหม่ที่ไม่ใช่ที่ตั้งของชุมชนร้างแห่งเดิม
จากพัฒนาการการย้ายลงจากเนินดินเดิม เพื่อตั้งเป็นชุมชนสมัยใหม่เกิดจากการขยายตัวของชุมชนทำให้เนินดินเดิมซึ่งมีขนาดเล็กไม่เพียงพอต่อการตั้งบ้านเรือน และอีกปัจจัยหนึ่งคือการขยายตัวเพื่อประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจชนิดใหม่ คือการค้า และการบริการ ทำให้คนย้ายบ้านเรือนไปตั้งอยู่ตามเส้นทางคมนาคมใกล้เคียง
2. เส้นทางการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอชุมพลบุรี ระยะที่เป็นชุมชนสมัยใหม่
จากหลักฐานที่นำมาศึกษาค้นคว้าและการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์เรื่องประวัติการก่อตั้งชุมชนทั้ง 95 หมู่บ้าน ใน 9 ตำบล พบว่า ประชากรของอำเภอชุมพลบุรีในช่วง 200 ปีที่ผ่านมานี้ มีการอพยพเข้ามาจากอำเภอใกล้เคียง เส้นทางใหญ่ๆ ดังนี้
2.1 ประชากรในเขตตำบลสระขุด และตำบลเมืองบัว พบว่ามีการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม จ. มหาสารคาม อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นส่วนมากและมีบางส่วนที่อพยพเข้ามาจากบ้านลุงปุง บ้านหนองเมธี อำเภอท่าตูม และปรากฏว่ามีบางชุมชนมีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้วเช่นชุมชนเมืองบัว ชุมชนสระขุด ซึ่งชุมชนโบราณเหล่านี้ก่อให้เกิดการย้ายถิ่นลงจากเนินดินเดิมเพื่อตั้งชุมชนใหม่ เช่นชุมชนบ้านงิ้ว บ้านดงสำราญ เป็นต้น
2.2 ประชากรในเขตตำบลยะวึก ส่วนใหญ่อพยพมาจาก อำเภอจตุรพักตร์พิมาน อำเภอปทุมรัตน์ จากอำเภอท่าตูม สุรินทร์ และย้ายลงจากชุมชนโบราณยะวึก
2.3 ประชากรในเขตตำบลกระเบื้องใหญ่ ส่วนใหญ่อพยพมาจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และอพยพลงจากชุมชนโบราณบ้านยะวึก บ้านหัวนาคำ
2.4 ประชากรในเขตตำบลศรีณรงค์ ส่วนใหญ่อพยพมาจากชุมชนโบราณเดิม เช่นชุมชนโบราณหัวนาคำ ชุมชนโบราณสำโรง นอกจากนั้นยังมีการอพยพเข้ามาจากที่อื่น เช่น อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์และอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
2.5 ตำบลชุมพลบุรี พบว่ามีการอพยพย้ายถิ่นมาจากอำเภอพยัคภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และมีการอพยพมาจากเมืองเมืองศรีไผทสมันต์ ( เมืองสุรินทร์) และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนบ้านหัวนาคำ ชุมชนบ้านตึกชุม ชุมชนบ้านทัพค่าย ซึ่งมีอายุสมัยมากกว่า 3,000 ปี และชุมชนเหล่านี้เองก่อให้เกิดการตั้งชุมชนสมัยใหม่
2.6 ประชากรในเขตตำบลนาหนองไผ่ มีการอพยพย้ายถิ่นมาจากอำเภอรัตนบุรี และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์เป็นส่วนใหญ่ และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนขวาวโค้ง
2.7 ประชากรในเขตตำบลไพรขลาและหนองเรือ มีการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาจากเขต อำเภอท่าตูมแทบทั้งสิ้น และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนโนนสวรรค์พัฒนา ชุมชนบ้าน
ไพรขลาและมีเพียงชุชนเดียวที่ย้ายมาจากประเทศลาว คือชุมชนบ้านขุนไชยทอง
ปัญหา/อุปสรรคของการทำโครงงาน
ในการทำโครงงานครั้งมีปัญหาคือ
1. การสำรวจทำในหน้าฝน การเดินทางไม่สะดวก และชาวบ้านไม่อยู่บ้านทำให้ยากต่อการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล
2. คนในชุมชนไม่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนของตน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
3. หลักฐานทางประวัติศาสตร์หายาก โบราณวัตถุถูกชาวบ้านเก็บไว้เป็นของส่วนตัวทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์ขาดหลักฐาน
4. บางหมู่บ้านเป็นชุมชนตั้งใหม่ ทำให้ไม่มีประวัติของหมู่บ้าน บางหมู่บ้านมีการสำรวจข้อมูลประวัติการก่อตั้งหมู่บ้านหลายครั้งข้อมูลที่ได้คลาดเคลื่อนไม่ตรงกันทำให้ยากต่อการอ้างอิง โดยเฉพาะตำบลหนองเรือ
ข้อค้นพบ
จากการทำโครงงาน เรื่องตามรอยเท้าบรรพชน คนชุมพลบุรี มีข้อค้นพบ ดังนี้
1.ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณได้ขาดหายไปในช่วงเวลาหนึ่งคือ ช่วงประมาณ 1,500 – 200 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่พบอายุสมัยของชุมชนโบราณที่ประมาณ 2,500 – 1,500 ปี และอายุสมัยของชุมชนสมัยใหม่ อายุสมัย 200 – 20 ปี
2.การตั้งชุมชนของคนชุมพลบุรีในยุคแรก ๆ มักจะตั้งบนเนินดิน และมีลักษณะเป็นเนินดินใหญ่และเนินดินเล็ก อยู่ห่างกันราว 30 – 100 เมตร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจะเป็นประเด็นศึกษาต่อไป
วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
1. เพื่อศึกษาการก่อตั้งชุมชนของอำเภอชุมพลบุรี
2. เพื่อศึกษาเส้นทางการอพยพเข้ามาเพื่อก่อตั้งหมู่บ้านของคนในอำเภอชุมพลบุรี
ขอบเขตของการสำรวจ
1. เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอชุมพลบุรี 9 ตำบล 95 หมู่บ้าน จาก 122 หมู่บ้านของอำเภอชุมพลบุรี
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
1. สมุดบันทึก
2. ปากกา
3. กล้องบันทึกภาพ
4. แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน
5. คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
พื้นที่สำรวจ 9 ตำบล 95 หมู่บ้าน 1. ชุมพลบุรี (Chumphon Buri) 22 หมู่บ้าน
2. นาหนองไผ่(Na Nong Phai) 7 หมู่บ้าน
3. ไพรขลา (Phrai Khla) 8 หมู่บ้าน
4. ศรีณรงค์ (Si Narong) 12 หมู่บ้าน
5. ยะวึก (Yawuek) 11 หมู่บ้าน
6. เมืองบัว (Mueang Bua) 16 หมู่บ้าน
7. สระขุด (Sa Khut) 11 หมู่บ้าน
8. กระเบื้อง (Krabueang) 7 หมู่บ้าน
9. หนองเรือ (Nong Ruea) 1 หมู่บ้าน
การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อคณะสำรวจศึกษาเอกสาร และลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล ภาพถ่าย แบบสัมภาษณ์มาแล้ว ได้นำข้อมูลเหล่านี้มาจัดกระทำดังนี้
1. วิเคราะห์ชนิดและประเภทของหลักฐาน
2. วิเคราะห์ประเภทและแหล่งที่มาของข้อมูล
3. วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของหลักฐานและข้อมูล
อภิปรายผลจากการทำโครงงาน
1. ลักษณะการตั้งชุมชน
ผลจากการสำรวจสามารถวิเคราะห์การตั้งชุมชนของอำเภอชุมพลบุรี ได้ว่า การตั้งชุมชนเป็นไปใน 2 ลักษณะ คือ
1. การย้ายลงจากเนินดินเดิมหรือชุมชนโบราณเดิมเพื่อตั้งชุมชนใหม่ เนื่องจากเนินดินเดิมแออัด และบางชุมชนย้ายเพราะความกลัวผีสาง นางไม้
2. การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนจากอำเภอใกล้เคียงที่อยู่โดยรอบ เช่นอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอพุทไธสง อำเภอวาปีปทุม อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอท่าตูม อำเภอเมืองสุรินทร์ซึ่งมีสาเหตุของการอพยพ คือ การแสวงหาที่ทำกินใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม
การตั้งชุมชนในเขตอำเภอชุมพลบุรี สามารถแบ่งระยะของการตั้งชุมชน ได้เป็น 2 ระยะ คือ
1.1 ระยะที่ 1 การตั้งชุมชนในสมัยโบราณ
ลักษณะการตั้งชุมชนสมัยโบราณของอำเภอชุมพลบุรี ที่มีอายุสมัยตั้งแต่ 4,000 -1,500 ปี จากการสำรวจ พบว่าชุมชนเหล่านี้ตั้งอยู่บนเนินดินสูงมาก่อน ต่อมาได้กลายเป็นชุมชนร้าง ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ เนื่องจากบางแห่งเกิดจากความเชื่อเรื่องผีสาง นางไม้ บางแห่งเกิดภัยธรรมชาติ ฟ้าผ่าบ่อยๆ เช่นชุมชนวังฟ้าผ่า บางแห่งเกิดจากโรคระบาด ทำให้ผู้คนอพยพหนีออกไป บางหมู่บ้านคนอพยพหนีสัตว์ร้าย เช่นที่บ้านไพรขลา หรืออาจเกิดจากพื้นที่ไม่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเอือด(ดินเกลือ) ทำไร่นาและปลูกพืชผลไม่ได้ และเริ่มมีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งหมู่บ้านใหม่ เมื่อประมาณ 200 – 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง ส่วนช่วงเวลาที่หายไป คือช่วงที่เป็นชุมชนร้าง มีเพียงบางชุมชนเท่านั้นที่มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอด โดยไม่กลายสภาพเป็นชุมชนร้าง เช่น ชุมชนเมืองบัว ชุมชนยะวึก ชุมชนหัวนาคำ ชุมชนสำโรง ชุมชนทัพค่าย ชุมชนตึกชุม ซึ่งชุมชนเหล่านี้ต่อมามีพัฒนาการการย้ายลงจากเนินดินเดิมเพื่อตั้งชุมชนสมัยใหม่ขึ้นมา
1.2 ระยะที่ 2 การตั้งหมู่บ้านสมัยใหม่
จากการสำรวจพบว่าหมู่บ้านสมัยใหม่ตั้งอยู่บนเนินดินเดิมเป็นส่วนใหญ่ เช่นชุมชนไพรขลา ชุมชนโนนสวรรค์พัฒนา ชุมชนกระเบื้องใหญ่ ชุมชนสายสนอง มีเพียงบางชุมชนที่ไปตั้งชุมชนบนที่ราบแห่งใหม่ที่ไม่ใช่ที่ตั้งของชุมชนร้างแห่งเดิม
จากพัฒนาการการย้ายลงจากเนินดินเดิม เพื่อตั้งเป็นชุมชนสมัยใหม่เกิดจากการขยายตัวของชุมชนทำให้เนินดินเดิมซึ่งมีขนาดเล็กไม่เพียงพอต่อการตั้งบ้านเรือน และอีกปัจจัยหนึ่งคือการขยายตัวเพื่อประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจชนิดใหม่ คือการค้า และการบริการ ทำให้คนย้ายบ้านเรือนไปตั้งอยู่ตามเส้นทางคมนาคมใกล้เคียง
2. เส้นทางการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอชุมพลบุรี ระยะที่เป็นชุมชนสมัยใหม่
จากหลักฐานที่นำมาศึกษาค้นคว้าและการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์เรื่องประวัติการก่อตั้งชุมชนทั้ง 95 หมู่บ้าน ใน 9 ตำบล พบว่า ประชากรของอำเภอชุมพลบุรีในช่วง 200 ปีที่ผ่านมานี้ มีการอพยพเข้ามาจากอำเภอใกล้เคียง เส้นทางใหญ่ๆ ดังนี้
2.1 ประชากรในเขตตำบลสระขุด และตำบลเมืองบัว พบว่ามีการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม จ. มหาสารคาม อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นส่วนมากและมีบางส่วนที่อพยพเข้ามาจากบ้านลุงปุง บ้านหนองเมธี อำเภอท่าตูม และปรากฏว่ามีบางชุมชนมีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้วเช่นชุมชนเมืองบัว ชุมชนสระขุด ซึ่งชุมชนโบราณเหล่านี้ก่อให้เกิดการย้ายถิ่นลงจากเนินดินเดิมเพื่อตั้งชุมชนใหม่ เช่นชุมชนบ้านงิ้ว บ้านดงสำราญ เป็นต้น
2.2 ประชากรในเขตตำบลยะวึก ส่วนใหญ่อพยพมาจาก อำเภอจตุรพักตร์พิมาน อำเภอปทุมรัตน์ จากอำเภอท่าตูม สุรินทร์ และย้ายลงจากชุมชนโบราณยะวึก
2.3 ประชากรในเขตตำบลกระเบื้องใหญ่ ส่วนใหญ่อพยพมาจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และอพยพลงจากชุมชนโบราณบ้านยะวึก บ้านหัวนาคำ
2.4 ประชากรในเขตตำบลศรีณรงค์ ส่วนใหญ่อพยพมาจากชุมชนโบราณเดิม เช่นชุมชนโบราณหัวนาคำ ชุมชนโบราณสำโรง นอกจากนั้นยังมีการอพยพเข้ามาจากที่อื่น เช่น อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์และอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
2.5 ตำบลชุมพลบุรี พบว่ามีการอพยพย้ายถิ่นมาจากอำเภอพยัคภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และมีการอพยพมาจากเมืองเมืองศรีไผทสมันต์ ( เมืองสุรินทร์) และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนบ้านหัวนาคำ ชุมชนบ้านตึกชุม ชุมชนบ้านทัพค่าย ซึ่งมีอายุสมัยมากกว่า 3,000 ปี และชุมชนเหล่านี้เองก่อให้เกิดการตั้งชุมชนสมัยใหม่
2.6 ประชากรในเขตตำบลนาหนองไผ่ มีการอพยพย้ายถิ่นมาจากอำเภอรัตนบุรี และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์เป็นส่วนใหญ่ และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนขวาวโค้ง
2.7 ประชากรในเขตตำบลไพรขลาและหนองเรือ มีการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาจากเขต อำเภอท่าตูมแทบทั้งสิ้น และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนโนนสวรรค์พัฒนา ชุมชนบ้าน
ไพรขลาและมีเพียงชุชนเดียวที่ย้ายมาจากประเทศลาว คือชุมชนบ้านขุนไชยทอง
ปัญหา/อุปสรรคของการทำโครงงาน
ในการทำโครงงานครั้งมีปัญหาคือ
1. การสำรวจทำในหน้าฝน การเดินทางไม่สะดวก และชาวบ้านไม่อยู่บ้านทำให้ยากต่อการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล
2. คนในชุมชนไม่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนของตน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
3. หลักฐานทางประวัติศาสตร์หายาก โบราณวัตถุถูกชาวบ้านเก็บไว้เป็นของส่วนตัวทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์ขาดหลักฐาน
4. บางหมู่บ้านเป็นชุมชนตั้งใหม่ ทำให้ไม่มีประวัติของหมู่บ้าน บางหมู่บ้านมีการสำรวจข้อมูลประวัติการก่อตั้งหมู่บ้านหลายครั้งข้อมูลที่ได้คลาดเคลื่อนไม่ตรงกันทำให้ยากต่อการอ้างอิง โดยเฉพาะตำบลหนองเรือ
ข้อค้นพบ
จากการทำโครงงาน เรื่องตามรอยเท้าบรรพชน คนชุมพลบุรี มีข้อค้นพบ ดังนี้
1.ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณได้ขาดหายไปในช่วงเวลาหนึ่งคือ ช่วงประมาณ 1,500 – 200 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่พบอายุสมัยของชุมชนโบราณที่ประมาณ 2,500 – 1,500 ปี และอายุสมัยของชุมชนสมัยใหม่ อายุสมัย 200 – 20 ปี
2.การตั้งชุมชนของคนชุมพลบุรีในยุคแรก ๆ มักจะตั้งบนเนินดิน และมีลักษณะเป็นเนินดินใหญ่และเนินดินเล็ก อยู่ห่างกันราว 30 – 100 เมตร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจะเป็นประเด็นศึกษาต่อไป
ชิ้นที่3โครงงานทางประวัติศาสตร์
โครงงานประวัติศาสตร์ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ตามรอยเท้าบรรพชน คนชุมพลบุรี จัดทำเพื่อส่งเสริมให้มีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความรู้และความรู้รักสามัคคีของคนภายในท้องถิ่น โดยวิธีการศึกษาได้นำเอากระบวนการแสวงหาความรู้ทางประวัติศาสตร์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นวิธีที่นักประวัติศาสตร์ใช้อยู่มาเพื่อแสวงหาคำตอบในสิ่งที่ตนเกิดความสงสัย โดยตั้งเป้าหมายของการศึกษา เพื่อศึกษาประวัติการตั้งถิ่นฐานของคนชุมพลบุรี และเพื่อศึกษาเส้นทาง การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานใน 9 ตำบล 95 หมู่บ้านของอำเภอชุมพลบุรี
วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
1. เพื่อศึกษาการก่อตั้งชุมชนของอำเภอชุมพลบุรี
2. เพื่อศึกษาเส้นทางการอพยพเข้ามาเพื่อก่อตั้งหมู่บ้านของคนในอำเภอชุมพลบุรี
ขอบเขตของการสำรวจ
1. เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอชุมพลบุรี 9 ตำบล 95 หมู่บ้าน จาก 122 หมู่บ้านของอำเภอชุมพลบุรี
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
1. สมุดบันทึก
2. ปากกา
3. กล้องบันทึกภาพ
4. แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน
5. คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
พื้นที่สำรวจ 9 ตำบล 95 หมู่บ้าน 1. ชุมพลบุรี (Chumphon Buri) 22 หมู่บ้าน
2. นาหนองไผ่(Na Nong Phai) 7 หมู่บ้าน
3. ไพรขลา (Phrai Khla) 8 หมู่บ้าน
4. ศรีณรงค์ (Si Narong) 12 หมู่บ้าน
5. ยะวึก (Yawuek) 11 หมู่บ้าน
6. เมืองบัว (Mueang Bua) 16 หมู่บ้าน
7. สระขุด (Sa Khut) 11 หมู่บ้าน
8. กระเบื้อง (Krabueang) 7 หมู่บ้าน
9. หนองเรือ (Nong Ruea) 1 หมู่บ้าน
การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อคณะสำรวจศึกษาเอกสาร และลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล ภาพถ่าย แบบสัมภาษณ์มาแล้ว ได้นำข้อมูลเหล่านี้มาจัดกระทำดังนี้
1. วิเคราะห์ชนิดและประเภทของหลักฐาน
2. วิเคราะห์ประเภทและแหล่งที่มาของข้อมูล
3. วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของหลักฐานและข้อมูล
อภิปรายผลจากการทำโครงงาน
1. ลักษณะการตั้งชุมชน
ผลจากการสำรวจสามารถวิเคราะห์การตั้งชุมชนของอำเภอชุมพลบุรี ได้ว่า การตั้งชุมชนเป็นไปใน 2 ลักษณะ คือ
1. การย้ายลงจากเนินดินเดิมหรือชุมชนโบราณเดิมเพื่อตั้งชุมชนใหม่ เนื่องจากเนินดินเดิมแออัด และบางชุมชนย้ายเพราะความกลัวผีสาง นางไม้
2. การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนจากอำเภอใกล้เคียงที่อยู่โดยรอบ เช่นอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอพุทไธสง อำเภอวาปีปทุม อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอท่าตูม อำเภอเมืองสุรินทร์ซึ่งมีสาเหตุของการอพยพ คือ การแสวงหาที่ทำกินใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม
การตั้งชุมชนในเขตอำเภอชุมพลบุรี สามารถแบ่งระยะของการตั้งชุมชน ได้เป็น 2 ระยะ คือ
1.1 ระยะที่ 1 การตั้งชุมชนในสมัยโบราณ
ลักษณะการตั้งชุมชนสมัยโบราณของอำเภอชุมพลบุรี ที่มีอายุสมัยตั้งแต่ 4,000 -1,500 ปี จากการสำรวจ พบว่าชุมชนเหล่านี้ตั้งอยู่บนเนินดินสูงมาก่อน ต่อมาได้กลายเป็นชุมชนร้าง ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ เนื่องจากบางแห่งเกิดจากความเชื่อเรื่องผีสาง นางไม้ บางแห่งเกิดภัยธรรมชาติ ฟ้าผ่าบ่อยๆ เช่นชุมชนวังฟ้าผ่า บางแห่งเกิดจากโรคระบาด ทำให้ผู้คนอพยพหนีออกไป บางหมู่บ้านคนอพยพหนีสัตว์ร้าย เช่นที่บ้านไพรขลา หรืออาจเกิดจากพื้นที่ไม่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเอือด(ดินเกลือ) ทำไร่นาและปลูกพืชผลไม่ได้ และเริ่มมีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งหมู่บ้านใหม่ เมื่อประมาณ 200 – 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง ส่วนช่วงเวลาที่หายไป คือช่วงที่เป็นชุมชนร้าง มีเพียงบางชุมชนเท่านั้นที่มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอด โดยไม่กลายสภาพเป็นชุมชนร้าง เช่น ชุมชนเมืองบัว ชุมชนยะวึก ชุมชนหัวนาคำ ชุมชนสำโรง ชุมชนทัพค่าย ชุมชนตึกชุม ซึ่งชุมชนเหล่านี้ต่อมามีพัฒนาการการย้ายลงจากเนินดินเดิมเพื่อตั้งชุมชนสมัยใหม่ขึ้นมา
1.2 ระยะที่ 2 การตั้งหมู่บ้านสมัยใหม่
จากการสำรวจพบว่าหมู่บ้านสมัยใหม่ตั้งอยู่บนเนินดินเดิมเป็นส่วนใหญ่ เช่นชุมชนไพรขลา ชุมชนโนนสวรรค์พัฒนา ชุมชนกระเบื้องใหญ่ ชุมชนสายสนอง มีเพียงบางชุมชนที่ไปตั้งชุมชนบนที่ราบแห่งใหม่ที่ไม่ใช่ที่ตั้งของชุมชนร้างแห่งเดิม
จากพัฒนาการการย้ายลงจากเนินดินเดิม เพื่อตั้งเป็นชุมชนสมัยใหม่เกิดจากการขยายตัวของชุมชนทำให้เนินดินเดิมซึ่งมีขนาดเล็กไม่เพียงพอต่อการตั้งบ้านเรือน และอีกปัจจัยหนึ่งคือการขยายตัวเพื่อประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจชนิดใหม่ คือการค้า และการบริการ ทำให้คนย้ายบ้านเรือนไปตั้งอยู่ตามเส้นทางคมนาคมใกล้เคียง
2. เส้นทางการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอชุมพลบุรี ระยะที่เป็นชุมชนสมัยใหม่
จากหลักฐานที่นำมาศึกษาค้นคว้าและการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์เรื่องประวัติการก่อตั้งชุมชนทั้ง 95 หมู่บ้าน ใน 9 ตำบล พบว่า ประชากรของอำเภอชุมพลบุรีในช่วง 200 ปีที่ผ่านมานี้ มีการอพยพเข้ามาจากอำเภอใกล้เคียง เส้นทางใหญ่ๆ ดังนี้
2.1 ประชากรในเขตตำบลสระขุด และตำบลเมืองบัว พบว่ามีการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม จ. มหาสารคาม อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นส่วนมากและมีบางส่วนที่อพยพเข้ามาจากบ้านลุงปุง บ้านหนองเมธี อำเภอท่าตูม และปรากฏว่ามีบางชุมชนมีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้วเช่นชุมชนเมืองบัว ชุมชนสระขุด ซึ่งชุมชนโบราณเหล่านี้ก่อให้เกิดการย้ายถิ่นลงจากเนินดินเดิมเพื่อตั้งชุมชนใหม่ เช่นชุมชนบ้านงิ้ว บ้านดงสำราญ เป็นต้น
2.2 ประชากรในเขตตำบลยะวึก ส่วนใหญ่อพยพมาจาก อำเภอจตุรพักตร์พิมาน อำเภอปทุมรัตน์ จากอำเภอท่าตูม สุรินทร์ และย้ายลงจากชุมชนโบราณยะวึก
2.3 ประชากรในเขตตำบลกระเบื้องใหญ่ ส่วนใหญ่อพยพมาจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และอพยพลงจากชุมชนโบราณบ้านยะวึก บ้านหัวนาคำ
2.4 ประชากรในเขตตำบลศรีณรงค์ ส่วนใหญ่อพยพมาจากชุมชนโบราณเดิม เช่นชุมชนโบราณหัวนาคำ ชุมชนโบราณสำโรง นอกจากนั้นยังมีการอพยพเข้ามาจากที่อื่น เช่น อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์และอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
2.5 ตำบลชุมพลบุรี พบว่ามีการอพยพย้ายถิ่นมาจากอำเภอพยัคภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และมีการอพยพมาจากเมืองเมืองศรีไผทสมันต์ ( เมืองสุรินทร์) และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนบ้านหัวนาคำ ชุมชนบ้านตึกชุม ชุมชนบ้านทัพค่าย ซึ่งมีอายุสมัยมากกว่า 3,000 ปี และชุมชนเหล่านี้เองก่อให้เกิดการตั้งชุมชนสมัยใหม่
2.6 ประชากรในเขตตำบลนาหนองไผ่ มีการอพยพย้ายถิ่นมาจากอำเภอรัตนบุรี และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์เป็นส่วนใหญ่ และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนขวาวโค้ง
2.7 ประชากรในเขตตำบลไพรขลาและหนองเรือ มีการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาจากเขต อำเภอท่าตูมแทบทั้งสิ้น และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนโนนสวรรค์พัฒนา ชุมชนบ้าน
ไพรขลาและมีเพียงชุชนเดียวที่ย้ายมาจากประเทศลาว คือชุมชนบ้านขุนไชยทอง
ปัญหา/อุปสรรคของการทำโครงงาน
ในการทำโครงงานครั้งมีปัญหาคือ
1. การสำรวจทำในหน้าฝน การเดินทางไม่สะดวก และชาวบ้านไม่อยู่บ้านทำให้ยากต่อการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล
2. คนในชุมชนไม่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนของตน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
3. หลักฐานทางประวัติศาสตร์หายาก โบราณวัตถุถูกชาวบ้านเก็บไว้เป็นของส่วนตัวทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์ขาดหลักฐาน
4. บางหมู่บ้านเป็นชุมชนตั้งใหม่ ทำให้ไม่มีประวัติของหมู่บ้าน บางหมู่บ้านมีการสำรวจข้อมูลประวัติการก่อตั้งหมู่บ้านหลายครั้งข้อมูลที่ได้คลาดเคลื่อนไม่ตรงกันทำให้ยากต่อการอ้างอิง โดยเฉพาะตำบลหนองเรือ
ข้อค้นพบ
จากการทำโครงงาน เรื่องตามรอยเท้าบรรพชน คนชุมพลบุรี มีข้อค้นพบ ดังนี้
1.ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณได้ขาดหายไปในช่วงเวลาหนึ่งคือ ช่วงประมาณ 1,500 – 200 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่พบอายุสมัยของชุมชนโบราณที่ประมาณ 2,500 – 1,500 ปี และอายุสมัยของชุมชนสมัยใหม่ อายุสมัย 200 – 20 ปี
2.การตั้งชุมชนของคนชุมพลบุรีในยุคแรก ๆ มักจะตั้งบนเนินดิน และมีลักษณะเป็นเนินดินใหญ่และเนินดินเล็ก อยู่ห่างกันราว 30 – 100 เมตร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจะเป็นประเด็นศึกษาต่อไป
วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
1. เพื่อศึกษาการก่อตั้งชุมชนของอำเภอชุมพลบุรี
2. เพื่อศึกษาเส้นทางการอพยพเข้ามาเพื่อก่อตั้งหมู่บ้านของคนในอำเภอชุมพลบุรี
ขอบเขตของการสำรวจ
1. เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอชุมพลบุรี 9 ตำบล 95 หมู่บ้าน จาก 122 หมู่บ้านของอำเภอชุมพลบุรี
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
1. สมุดบันทึก
2. ปากกา
3. กล้องบันทึกภาพ
4. แบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน
5. คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
พื้นที่สำรวจ 9 ตำบล 95 หมู่บ้าน 1. ชุมพลบุรี (Chumphon Buri) 22 หมู่บ้าน
2. นาหนองไผ่(Na Nong Phai) 7 หมู่บ้าน
3. ไพรขลา (Phrai Khla) 8 หมู่บ้าน
4. ศรีณรงค์ (Si Narong) 12 หมู่บ้าน
5. ยะวึก (Yawuek) 11 หมู่บ้าน
6. เมืองบัว (Mueang Bua) 16 หมู่บ้าน
7. สระขุด (Sa Khut) 11 หมู่บ้าน
8. กระเบื้อง (Krabueang) 7 หมู่บ้าน
9. หนองเรือ (Nong Ruea) 1 หมู่บ้าน
การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อคณะสำรวจศึกษาเอกสาร และลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล ภาพถ่าย แบบสัมภาษณ์มาแล้ว ได้นำข้อมูลเหล่านี้มาจัดกระทำดังนี้
1. วิเคราะห์ชนิดและประเภทของหลักฐาน
2. วิเคราะห์ประเภทและแหล่งที่มาของข้อมูล
3. วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของหลักฐานและข้อมูล
อภิปรายผลจากการทำโครงงาน
1. ลักษณะการตั้งชุมชน
ผลจากการสำรวจสามารถวิเคราะห์การตั้งชุมชนของอำเภอชุมพลบุรี ได้ว่า การตั้งชุมชนเป็นไปใน 2 ลักษณะ คือ
1. การย้ายลงจากเนินดินเดิมหรือชุมชนโบราณเดิมเพื่อตั้งชุมชนใหม่ เนื่องจากเนินดินเดิมแออัด และบางชุมชนย้ายเพราะความกลัวผีสาง นางไม้
2. การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนจากอำเภอใกล้เคียงที่อยู่โดยรอบ เช่นอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอพุทไธสง อำเภอวาปีปทุม อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอท่าตูม อำเภอเมืองสุรินทร์ซึ่งมีสาเหตุของการอพยพ คือ การแสวงหาที่ทำกินใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม
การตั้งชุมชนในเขตอำเภอชุมพลบุรี สามารถแบ่งระยะของการตั้งชุมชน ได้เป็น 2 ระยะ คือ
1.1 ระยะที่ 1 การตั้งชุมชนในสมัยโบราณ
ลักษณะการตั้งชุมชนสมัยโบราณของอำเภอชุมพลบุรี ที่มีอายุสมัยตั้งแต่ 4,000 -1,500 ปี จากการสำรวจ พบว่าชุมชนเหล่านี้ตั้งอยู่บนเนินดินสูงมาก่อน ต่อมาได้กลายเป็นชุมชนร้าง ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ เนื่องจากบางแห่งเกิดจากความเชื่อเรื่องผีสาง นางไม้ บางแห่งเกิดภัยธรรมชาติ ฟ้าผ่าบ่อยๆ เช่นชุมชนวังฟ้าผ่า บางแห่งเกิดจากโรคระบาด ทำให้ผู้คนอพยพหนีออกไป บางหมู่บ้านคนอพยพหนีสัตว์ร้าย เช่นที่บ้านไพรขลา หรืออาจเกิดจากพื้นที่ไม่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเอือด(ดินเกลือ) ทำไร่นาและปลูกพืชผลไม่ได้ และเริ่มมีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งหมู่บ้านใหม่ เมื่อประมาณ 200 – 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง ส่วนช่วงเวลาที่หายไป คือช่วงที่เป็นชุมชนร้าง มีเพียงบางชุมชนเท่านั้นที่มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอด โดยไม่กลายสภาพเป็นชุมชนร้าง เช่น ชุมชนเมืองบัว ชุมชนยะวึก ชุมชนหัวนาคำ ชุมชนสำโรง ชุมชนทัพค่าย ชุมชนตึกชุม ซึ่งชุมชนเหล่านี้ต่อมามีพัฒนาการการย้ายลงจากเนินดินเดิมเพื่อตั้งชุมชนสมัยใหม่ขึ้นมา
1.2 ระยะที่ 2 การตั้งหมู่บ้านสมัยใหม่
จากการสำรวจพบว่าหมู่บ้านสมัยใหม่ตั้งอยู่บนเนินดินเดิมเป็นส่วนใหญ่ เช่นชุมชนไพรขลา ชุมชนโนนสวรรค์พัฒนา ชุมชนกระเบื้องใหญ่ ชุมชนสายสนอง มีเพียงบางชุมชนที่ไปตั้งชุมชนบนที่ราบแห่งใหม่ที่ไม่ใช่ที่ตั้งของชุมชนร้างแห่งเดิม
จากพัฒนาการการย้ายลงจากเนินดินเดิม เพื่อตั้งเป็นชุมชนสมัยใหม่เกิดจากการขยายตัวของชุมชนทำให้เนินดินเดิมซึ่งมีขนาดเล็กไม่เพียงพอต่อการตั้งบ้านเรือน และอีกปัจจัยหนึ่งคือการขยายตัวเพื่อประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจชนิดใหม่ คือการค้า และการบริการ ทำให้คนย้ายบ้านเรือนไปตั้งอยู่ตามเส้นทางคมนาคมใกล้เคียง
2. เส้นทางการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอชุมพลบุรี ระยะที่เป็นชุมชนสมัยใหม่
จากหลักฐานที่นำมาศึกษาค้นคว้าและการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์เรื่องประวัติการก่อตั้งชุมชนทั้ง 95 หมู่บ้าน ใน 9 ตำบล พบว่า ประชากรของอำเภอชุมพลบุรีในช่วง 200 ปีที่ผ่านมานี้ มีการอพยพเข้ามาจากอำเภอใกล้เคียง เส้นทางใหญ่ๆ ดังนี้
2.1 ประชากรในเขตตำบลสระขุด และตำบลเมืองบัว พบว่ามีการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม จ. มหาสารคาม อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นส่วนมากและมีบางส่วนที่อพยพเข้ามาจากบ้านลุงปุง บ้านหนองเมธี อำเภอท่าตูม และปรากฏว่ามีบางชุมชนมีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้วเช่นชุมชนเมืองบัว ชุมชนสระขุด ซึ่งชุมชนโบราณเหล่านี้ก่อให้เกิดการย้ายถิ่นลงจากเนินดินเดิมเพื่อตั้งชุมชนใหม่ เช่นชุมชนบ้านงิ้ว บ้านดงสำราญ เป็นต้น
2.2 ประชากรในเขตตำบลยะวึก ส่วนใหญ่อพยพมาจาก อำเภอจตุรพักตร์พิมาน อำเภอปทุมรัตน์ จากอำเภอท่าตูม สุรินทร์ และย้ายลงจากชุมชนโบราณยะวึก
2.3 ประชากรในเขตตำบลกระเบื้องใหญ่ ส่วนใหญ่อพยพมาจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และอพยพลงจากชุมชนโบราณบ้านยะวึก บ้านหัวนาคำ
2.4 ประชากรในเขตตำบลศรีณรงค์ ส่วนใหญ่อพยพมาจากชุมชนโบราณเดิม เช่นชุมชนโบราณหัวนาคำ ชุมชนโบราณสำโรง นอกจากนั้นยังมีการอพยพเข้ามาจากที่อื่น เช่น อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์และอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
2.5 ตำบลชุมพลบุรี พบว่ามีการอพยพย้ายถิ่นมาจากอำเภอพยัคภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และมีการอพยพมาจากเมืองเมืองศรีไผทสมันต์ ( เมืองสุรินทร์) และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนบ้านหัวนาคำ ชุมชนบ้านตึกชุม ชุมชนบ้านทัพค่าย ซึ่งมีอายุสมัยมากกว่า 3,000 ปี และชุมชนเหล่านี้เองก่อให้เกิดการตั้งชุมชนสมัยใหม่
2.6 ประชากรในเขตตำบลนาหนองไผ่ มีการอพยพย้ายถิ่นมาจากอำเภอรัตนบุรี และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์เป็นส่วนใหญ่ และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนขวาวโค้ง
2.7 ประชากรในเขตตำบลไพรขลาและหนองเรือ มีการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาจากเขต อำเภอท่าตูมแทบทั้งสิ้น และมีบางชุมชนที่ มีผู้คนอาศัยอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติตอนปลาย อายุสมัยประมาณ 2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว เช่นชุมชนโนนสวรรค์พัฒนา ชุมชนบ้าน
ไพรขลาและมีเพียงชุชนเดียวที่ย้ายมาจากประเทศลาว คือชุมชนบ้านขุนไชยทอง
ปัญหา/อุปสรรคของการทำโครงงาน
ในการทำโครงงานครั้งมีปัญหาคือ
1. การสำรวจทำในหน้าฝน การเดินทางไม่สะดวก และชาวบ้านไม่อยู่บ้านทำให้ยากต่อการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล
2. คนในชุมชนไม่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนของตน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
3. หลักฐานทางประวัติศาสตร์หายาก โบราณวัตถุถูกชาวบ้านเก็บไว้เป็นของส่วนตัวทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์ขาดหลักฐาน
4. บางหมู่บ้านเป็นชุมชนตั้งใหม่ ทำให้ไม่มีประวัติของหมู่บ้าน บางหมู่บ้านมีการสำรวจข้อมูลประวัติการก่อตั้งหมู่บ้านหลายครั้งข้อมูลที่ได้คลาดเคลื่อนไม่ตรงกันทำให้ยากต่อการอ้างอิง โดยเฉพาะตำบลหนองเรือ
ข้อค้นพบ
จากการทำโครงงาน เรื่องตามรอยเท้าบรรพชน คนชุมพลบุรี มีข้อค้นพบ ดังนี้
1.ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณได้ขาดหายไปในช่วงเวลาหนึ่งคือ ช่วงประมาณ 1,500 – 200 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่พบอายุสมัยของชุมชนโบราณที่ประมาณ 2,500 – 1,500 ปี และอายุสมัยของชุมชนสมัยใหม่ อายุสมัย 200 – 20 ปี
2.การตั้งชุมชนของคนชุมพลบุรีในยุคแรก ๆ มักจะตั้งบนเนินดิน และมีลักษณะเป็นเนินดินใหญ่และเนินดินเล็ก อยู่ห่างกันราว 30 – 100 เมตร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจะเป็นประเด็นศึกษาต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น